
โรคซึมเศร้าหลังคลอด จะเกิดการเปลี่ยนแปลงกับผู้หญิงทั้งร่างกายและจิตใจ เกี่ยวกับในเรื่องของการปรับสภาวะอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายให้กลับเข้าสู่สภาวะปกติ เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง ความเครียด ความกังวลในเรื่องต่างๆ ทั้งก่อนการคลอดและหลังการคลอด ฮอร์โมนมีการปรับเปลี่ยนขึ้นลงอย่างรวดเร็ว มีอารมณ์ที่อ่อนไหวง่ายมาก รู้สึกโดดเดี่ยว เบื่ออาหาร เป็นต้น รวมทั้งการปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมหลังคลอด ไม่สามารถปรับตัวได้

อาการ โรคซึมเศร้าหลังคลอด
โรคซึมเศร้าหลังคลอด จะมีอาการเดียวกันกับโรคซึมเศร้าทั่วไป ที่แตกต่างกัน คือ อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย อารมณ์อ่อนไหวกว่าโรคซึมเศร้าทั่วๆ ไป โรคซึมเศร้าหลังคลอดมีระดับความรุนแรงตามอาการ ทั้งหมด 3 ระดับ ดังนี้ ระดับที่หนึ่ง ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด ระดับที่สอง โรคซึมเศร้าหลังคลอด และระดับที่สาม โรคจิตหลังคลอด ทั้งสามระดับนี้ ความรุนแรงของอาการ การรักษามีความแตกต่างกัน แต่ระดับที่มีความรุนแรงมากที่สุด นั่นก็คือ ระดับที่สาม
คุณแม่ที่ป่วยเป็น โรคซึมเศร้าหลังคลอด มักจะหมกมุ่นอยู่กับตนเอง ความสนใจในการดูแลลูกน้อยลง ซึ่งมีปัจจัยหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคนี้ ได้แก่ สมาชิกในครอบครัวหรือคนใกล้ชิดป่วยเป็นโรคซึมเศร้าหรือคุณแม่ที่ตั้งครรภ์เคยป่วยเป็นโรคซึมเศร้า มีสภาวะซึมเศร้าในช่วงที่ตั้งครรภ์ มีความกดดันจากสภาพแวดล้อม ได้แก่ ตกงาน เป็นต้น อาจจะไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากสมาชิกในครอบครัวหรือคนที่ใกล้ชิด รวมทั้งการมีปัญหาหลังจากคลอดแล้ว

วิธีการแก้ปัญหาและการป้องกันโรคซึมเศร้าหลังคลอด
วิธีการแก้ปัญหาและการป้องกันของคุณแม่ที่ป่วยเป็น โรคซึมเศร้าหลังคลอด ที่สมาชิกในครอบครัวหรือคนใกล้ชิดสามารถดูแล สังเกตอาการได้ นั่นคือ สมาชิกในครอบครัวหรือคนใกล้ชิดต้องคอยสังเกตอาการคุณแม่ก่อนคลอดลูกและหลังคลอดลูก ต้องดูแลสภาพจิตใจของคุณแม่ตลอดระยะเวลาในการตั้งครรภ์ เพื่อให้คุณแม่รู้สึกผ่อนคลาย ในทางกลับกัน ถ้าคุณแม่มีอาการที่น่ากังวล สมาชิกในครอบครัวและคนใกล้ชิดควรปรึกษาแพทย์ เพื่อได้รับการดูแล รักษาอย่างถูกวิธี การรักษาในบางคนอาจจะต้องให้การรักษาด้วยยาและจิตบำบัดร่วมด้วย
ติดตามบทความ แม่และเด็ก เรื่องราวดีๆเกี่ยวกับ การเลี้ยงลูก เทคนิควิธีการดูแลลูก ได้ที่นี้
แนะนำ วิธีลดกลิ่นตัวคุณแม่หลังคลอด การต้องดูแลตัวเอง หลังคลอดเบื้องต้น